22.2.54

ปล่อย7แกนนำสู่อิสรภาพ เอาสุรชัยไปขังแทน!



สู่อิสรภาพในที่สุด-ศาล ให้ประกัน 7 แกนนำนปช.แดงทั้งแผ่นดินแล้ว หลังคุมขังมานาน 9 เดือนเต็ม โดยคนเสื้อแดงพากันไปรอรับขวัญหน้าเรือนจำเย็นนี้ ขณะที่มีการคุมตัวสุรชัย แซ่ด่าน แกนนำแดงสยามไปขังคุกแทน ข้อหาหมิ่นฯ

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
22 กุมภาพันธ์ 2554

ผู้ พิพากษาศาลอาญาให้ประกัน 7 แกนนำนปช. และ1 แนวร่วมฯโดย มีเงื่อนไข ห้ามปลุกปั่น ห้ามออกนอกประเทศ เมื่อเวลาราว14.00 น.วันที่ 22 กุมภาพันธ์

หลัง จากผู้พิพากษา อ่านคำพิพากษา อนุญาตให้ประกันตัว กลุ่มคนเสื้อแดง ต่างแสดงความดีใจ โห่ร้องด้วยความยินดี แต่ได้มีการห้ามปรามไว้ เนื่องจากอาจเป็นการละเมิดอำนาจศาล แกนนำ จึงได้ขอให้คนเสื้อแดงไปโห่ร้องแสดงความยินดี บริเวณ หน้าศาลอาญาแทน

จากนั้น กลุ่มคนเสื้อแดงร่วมกันเดินทางไปรับ 7 แกนนำและ 1 แนวร่วมพธม. ที่เรือนจำพิเศษ กรุงเทพมหานคร

เอาสุรชัย แซ่ด่าน แกนนำแดงสยามไปขังแทน
สุ รชัย แซ่ด่าน (ซ้าย) ถูกคุมตัวไปเข้าคุกคลองเปรม ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เจ้าตัวเผยไม่เดือดร้อน ถือเป็นโอกาสรณรงค์ให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นม.112 และเสนอให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้พ้นวังวนการเมืองแบบญี่ปุ่น เพื่อเลี่ยงการเกิดสงครามกลางเมืองแบบตะวันออกกลาง

รอยเตอร์เสนอ ภาพข่าว ตำรวจยืนรักษาการณ์หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ซึ่งวันนี้มีการจับกุมตัวนายสุรชัย แซ่ด่าน แกนนำแดงสยาม ไปขังคุกคลองเปรม ข้อหาหมิ่นพระบรมฉายาลักษณ์

หมอเหวงตระ กองกอดอ.ธิดา ถาวรเศรษฐ รักษาการประธานนปช. ซึ่งเป็นคู่ทุกข์คู่ยากที่ต่อสู้เคียงคู่ร่วมกันมายาวนาน คราวนี้ก็เป็นอีกวาระในความทุกข์ยากที่ทั้งคู่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่แท้ จริงของประเทศไทย

ณัฐวุฒิ กับลูกแก้ว+เมียขวัญที่ห่างกันนาน9เดือนเต็มๆ

ก่อแก้ว คนดีติดคุกไทย ส่วนคนจัญไร คู่แข่งสนามเลือกตั้งซ่อมเขตบึงกุ่มไปติดคุกเขมร

ขวัญชัย ไพรพนา:อ่านเสียงจากเรือนจำ“ขวัญชัย ไพรพนา” :กูไม่กลัวมึง
วิภูแถลง พัฒนภูมิไทย:อ่าน ยังเชื่อลึกๆประชาชนจะชนะ

เจ๋ง ดอกจิก:ไม่เคยเสียใจหรือท้อใจต่อชะตากรรม
นิสิต สินธุไพร:หัวใจผมยังมีอิสระอย่างเต็มที่ ผมอยากบอกว่า จะทำอะไรกับพวกผม ผมไม่กลัว

ขณะ ที่ศาลอาญาให้ประกันตัว 7 แกนนำนปช.ทั้งแผ่นดิน คือ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ หมอเหวง โตจิราการ วิภูแถลง พัฒนภูมิไทย ขวัญชัย ไพรพนา เจ๋ง ดอกจิก นิสิต สินธุไพร และ นายก่อแก้ว พิกุลทอง พร้อมด้วยแนวร่วมนปช.อีก 1 คนคือ นายภูมิกิตติ สุจินดาทอง

ทั้งนี้เมื่อเวลา ประมาณ 14.00น. ที่ศาลอาญา รัชดาภิเษก คณะผู้พิพากษาได้ออกนั่งบัลลังค์ อ่านคำสั่ง ขออนุญาตประกันตัว 7 แกนนำนปช. พร้อมด้วยแนวร่วมนปช.อีก 1 คน โดยศาลได้ตีราคาประกันคนละ 6 แสนบาท และมีเงื่อนไขในการปล่อยตัว 2 ข้อ คือ ห้ามออกนอกประเทศและห้ามเคลื่อนไหวยุยงปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวาย

นาง ธิดา ถาวรเศรษฐ รักษาการ ประธาน นปช. ให้สัมภาษณ์อีกครั้งว่า 7 แกนนำนปช.จะได้รับการปล่อยตัว ในเย็นนี้ ตอนนี้ยังอยู่ที่ศาลเพื่อดำเนินเรื่องประกันตัว ส่วนข้อห้ามเรื่องการห้ามออกนอกประเทศ และห้ามยุยงปลุกปั่นคิดว่าไม่น่ามีปัญหาอะไร ทำตามได้ง่ายมาก การเคลื่อนไหวของนปช.ก็ได้พิสูจน์มานานแล้ว การที่พยานแต่ละคนก็ล้วนมีน้ำหนัก ส่วนพยานเอกสารก็เป็นการเพิ่มเติมไปจากเดิม แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือข้อมูลความเป็นจริงก็คงชัดขึ้น

วันนี้แค่ รุ่งอรุณของความยุติธรรม ยังมีคนที่อยู่ในเรือนจำอีกจำนวนมาก มีความจริงที่ยังไม่ได้ปรากฎอีกจำนวนมาก ไม่ใช่ว่าเราสู้เฉพาะแกนนำ นี่เป็นก้าวแรกที่เรามองเห็นแสดงของความยุติธรรม เราต้องเคลื่อนไหวต่อ เพียงแต่ความกดดันมันลดลง อาจจะมีความร่าเริงสดชื่น เราต้องพยายามพิสูจน์ให้มากขึ้นว่าคนเหล่านั้นถูกป้ายสี แต่เราไม่ปกป้องคนทำผิดจริงก็ว่าไปตามจริง แต่คนถูกป้ายสีต้องช่วยเหลือออกมา ไม่ทำให้ให้เกิดวุ่นวาย และยืนยันว่าจะยังคงมีการชุมนุมในวันที่ 12 มีนาคมนี้แน่นอน

******

บุกจับสุรชัยแดงสยามกลางดึกยัดคดีหมิ่นฯ เจ้าตัวได้โอกาสรณรงค์เลิกม.112-ปฏิรูปสถาบันฯพ้นการเมือง

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
22 กุมภาพันธ์ 2554



เวลา ประมาณตี สองคืนนี้ อ. สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน. โชคชัย บุกจับที่บ้าน แล้วพาตัวมาที่โรงพัก สน. โชคชัย โดยมีลูกศิษย์ติดตามมาด้วยสองคน

ชัยนรินทร์ ผู้ประสานงานแดงสยาม แจ้งข่าวผ่านทางเฟสบุค ในเวลาประมาณตีสอง "ด่วนๆๆๆๆๆ อ.สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ ถูกชารต์ตัวคาบ้านแดงสยาม ตอนนี้อยู่ สน โชคชัย คดีหมิ่นฯ รวมตัวที่ สน ได้เลยครับ"

ข่าวได้แพร่กระจายไปอย่างรวด เร็วที่เฟสบุค และในเวลาไม่ถึงชั่วโมง นักข่าวและคนเสื้อแดงกว่า 40 คน ได้เดินทางไปติดตามความคืบหน้าที่ สน. โชคชัย ทั้งนี้เบื้องต้นทราบว่าเป็นคดีหมิ่น ที่ อ. สุรชัย อ่านบทกลอนของอดีตนายกสมัคร สุนทรเวช เมื่อนานมาแล้ว

ทั้งนี้ อ. สุรชัย ไม่ยอมให้การใดๆ เจ้าหน้าที่จึงควบคุมตัวส่งเข้าห้องขัง และไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัวเมื่อคืนนี้

นาย สุรชัยให้สัมภาษณ์ว่า การที่ถูกจับข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา112ก็ดีเหมือนกัน จะได้รณรงค์ยกเลิกมาตรา112 และเป็นโอกาสให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพราะมีการดึงสถาบันเบื้องสูงลงมาเกี่ยวข้องการเมืองมาก ทำให้มีวิกฤตศรัทธาเกิดขึ้น เสี่ยงจะนำไปสู่สงครามกลางเมือง ดังนั้นควรเสนอให้เปลี่ยนแปลงปฏิรูปบทบาทสถาบันเบื้องสูงให้เป็นแบบเดียวกับ ประเทศญี่ปุ่น

"ประเด็นไม่ใช่ว่าผมถูกจับแล้วมาสู้ให้ปล่อยผม ได้หรือไม่ได้ประกัน ไม่ต้องโวยวายหรือมาสู้ให้ผม แต่ประเด็นสำคัญคือเป็นโอกาสที่ผมจะได้รณรงค์ยกเลิกมาตรา112กฎหมายหมิ่นฯ และได้เวลาเปลี่ยนแปลงสถาบันเบื้องสูงให้พ้นวังวนการเมือง ให้เป็นแบบญี่ปุ่น"นายสุรชัยกล่าวกับผู้สนับสนุน และผู้สื่อข่าว

ส่งศาลอาญาฝากขังผลัดแรก12วัน ค้านประกัน

ความ คืบหน้าล่าสุดช่วงเช้าวันนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจสน.โชคชัย แจ้งว่าไม่ให้ประกันตัวอ.สุรชัยแกนนำกลุ่มแดงสยาม และกำลังส่งตัวไปที่ศาลอาญารัชดาภิเษกในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชาณุภาพ ตามมาตรา112 ซึ่งทนายความกำลังติดต่อเพื่อขอประกันตัว อย่างไรก็ตามตำรวจได้ฝากขังผลัดแรก 12 วัน และคัดค้านการประกันตัว

ต่อมาเจ้าหน้าที่พานายสุรชัยไปฝากขังผลัดแรกที่เรือนจำคลองเปรมแล้ว ขณะที่เจ้าตัวไม่ขอประกัน



ทาง ด้านกลุ่มผู้สนับสนุนนายสุรชัยจำนวนหนึ่งได้ไปปราศรัยเรีบกร้องปล่อยตัวนาย สุรชัยที่หน้าสน.โชคชัยตั้งแต่เช้ามืด และตามไปที่ศาลอาญา (ดูภาพที่มีการอัพเดตเป็นระยะ)

ขอบคุณภาพจาก กุ้งอินเตอร์นิวส์










*******

แถลงการณ์ของ นายจักรภพ เพ็ญแข (ฉบับแก้ไข): การจับกุมนายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์และการให้ประกันตัวแกนนำ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน



โดย จักรภพ เพ็ญแข
22 กุมภาพันธ์ 2554

แถลงการณ์ของ นายจักรภพ เพ็ญแข เรื่องการจับกุมนายสุรชัย (ฉบับแก้ไข)

แถลงการณ์ของ นายจักรภพ เพ็ญแข
เรื่อง การจับกุมนายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์และการให้ประกันตัวแกนนำ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน
วันอังคารที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔


ใน นามขบวนการปฏิวัติประชาธิปไตยไทย ผมขอประณามการตั้งข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและการจับกุมตัว นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ ประธานแดงสยาม หลังการปฏิบัติภารกิจทางการเมืองเมื่อคืนวันจันทร์ที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔ พฤติกรรมดังกล่าว สวนทางกับหลักประชาธิปไตยสากลทุกประการทั้งในเนื้อหากฎหมายอันเกี่ยวพันกับ สถาบันกษัตริย์และในการดำเนินการจับกุมด้วยบุคคลนอกเครื่องแบบด้วยอาวุธครบ มือ เราถือว่า นี่คือการประกาศความเป็นศัตรูอย่างชัดแจ้งกับประชาชน ความหวังใดๆ ที่เราจะได้ประชาธิปไตยที่แท้ภายใต้ระบอบศักดินาอำมาตยาธิปไตยเช่นที่เป็น อยู่นี้ได้ดับลงแล้วอย่างสิ้นเชิง

นี่มิใช่ “รุ่งอรุณแห่งความยุติธรรม” หากคืออัสดงคตแห่งระบอบประชาธิปไตยไทย หรือเป็นช่วงตะวันตกดินก่อนเข้าสู่ช่วงกาฬปักษ์อันมืดมิด

ความ ยินดีที่ได้เห็นแกนนำ นปช.ฯ ทั้ง ๗ คนได้รับการประกันตัว จึงถูกถ่วงดุลด้วยการจับกุมตัว นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ และเหยื่อการเมืองในระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จของไทย ขอให้มวลชนจงรวมตัวกันยืนหยัดในอุดมการณ์ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยอันแท้จริง ต่อไป โดยไม่เห็นแก่เศษเนื้อข้างจานหรือสินบนทางการเมืองที่ไร้ความหมายใดๆ

นอก จากนั้นให้ยกเลิกความในรัฐธรรมนูญ หมวด ๒ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ อันเป็น “ฐานความผิด” ของนายสุรชัยฯ และของบุคคลอื่นๆ อีกมากมาย รวมทั้งตัวผมเอง ลงโดยสิ้นเชิง สาระของรัฐธรรมนูญในส่วนนี้ ได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองอย่างโฉดชั่วและเป็นภูเขาที่ขวางกั้นมิ ให้ระบอบประชาธิปไตยอันแท้จริงเกิดขึ้นได้ หากกฎหมายนี้และอื่นๆ ในลักษณะนี้ยังดำรงอยู่ สังคมไทยจะกลายเป็นสนามรบและจะเกิดความรุนแรงทางการเมืองอีกในไม่ช้า

ขอ ให้มวลชนตาสว่างผู้เป็นนักปฏิวัติ ร่วมเดินทางสายสำคัญนี้ต่อไป ผมขอปวารณาตัวเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการปฏิวัติประชาธิปไตยไทย ขอให้แกนนำทุกท่านที่พรั่งพร้อมต่อการเดินไกล เช่น คุณพลท เฉลิมแสน ผู้ประสานภารกิจ ช่วยเป็นเรี่ยวแรงภายในประเทศ ให้แก่มวลชนที่รักยิ่งของเราอย่างมั่นคงและศรัทธา.

ขอกราบพี่น้องประชาชนจากหัวใจของผม
นายจักรภพ เพ็ญแข


*******

18.2.54

"เรื่องเล่า" จากแวดวงราชสำนัก: ทำไม ในหลวง ไม่ได้ทรงพระราชทานอภัยโทษ จำเลยคดีสวรรคต



ธรณีนี่นี้เป็นพยาน. . เราบ่ผิดท่านมล้าง ดาบนี้คืนสนอง : 56 ปี การประหารชีวิตจำเลยคดีสวรรคต 17 กุมภาพันธ์ 2498 - 2554


โดย ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ที่มา เฟซบุ๊ค สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล


เมื่อ 6 ปีก่อน ในระหว่างที่ผมเขียนบทความเรื่อง "50 ปี การประหารชีวิต 17 กุมภาพันธ์ 2498" (ดาวน์โหลด pdf บทความนี้ได้ที่นี่่ http://www.enlightened-jurists.com/page/136 ) ประเด็นหนึ่งที่ทำให้ผมรู้สึกโกรธมาก คือ การที่หนังสือ The Revolutionary King (2001) ที่เขียนโดย วิลเลียม สตีเวนสัน (William Stevenson) ได้ให้ข้อมูลที่ผิดบางอย่างเกี่ยวกับการประหารชีวิตจำเลยคดีสวรรคตในหลวง อานันท์

ดังที่หลายคนอาจจะทราบแล้ว สตีเวนสัน คือผู้เขียนหนังสือ A Man Called Intrepid ซึ่งในหลวงทรงแปลเป็นภาษาไทยในชื่อ "นายอินทร ผู้ปิดทองหลังพระ" ในการค้นคว้าเพื่อเขียน The Revolutionary King สตี เวนสัน ได้รับพระบรมราชานุญาตให้มาใช้ชีวิตในประเทศไทยในแวดวงราชสำนัก ได้สัมภาษณ์สนทนากับทั้งในหลวง พระราชินี พระเทพ พระราชชนนี ข้าราชบริพารในพระองค์และผู้ใกล้ชิดราชสำนักจำนวนมาก น่าเสียดายที่หนังสือของสตีเวนสัน ไม่มีเชิงอรรถอ้างอิงที่แน่นอน ทำให้เราไม่สามารถบอกได้ว่า ข้อมูลใดในหนังสือของเขา เอามาจากใครบ้าง อย่างไรก็ตาม คงไม่เป็นการเกินเลยไปที่จะคิดว่า ข้อมูลที่เกี่ยวกับราชสำนักส่วนใหญ่ในหนังสือของเขา เอามาจากการเล่าของคนในแวดวงราชสำนักเอง

ในหน้า 111 ของ The Revolutionary King สตีเวนสัน เขียนในลักษณะที่ว่าในหลวงทรงตระหนักถึงความไม่ชอบมาพากลของการดำเนินคดี สวรรคตของรัฐบาลในขณะนั้นภายใต้การบงการของกลุ่มพิบูล-เผ่า รวมทั้งการพิพากษาให้ประหารชีวิตจำเลย สตีเวนสันอ้างว่า ในหลวงทรงกล่าวในภายหลัง (สตีเวนสันไม่ได้ระบุว่า เอาคำพูดของในหลวงตอนนี้มาจากที่ใด)

"กระบวนการอุทธรณ์ คำตัดสินกำลังดำเนินการไป" ในหลวงทรงกล่าวในภายหลัง "ข้าพเจ้าไม่สามารถบ่อนทำลายฐานะของบรรดาผู้รักษาตัวบทกฎหมายของเราอย่าง ซื่อสัตย์ ด้วยการเข้าแทรกแซง จนกว่าฎีกาขออภัยโทษขั้นสุดท้ายมาถึงข้าพเจ้า"

['Fresh appeals against the sentences were in the works,' he said later. 'I couldn't undermine the position of honest upholders of our written laws by intervening until a final appeal for clemancy reached me.']


สตี เวนสันเล่าต่อไปว่า แต่เมื่อถึงเวลาที่จำเลยถูกตัดสินประหารชีวิตขั้นสุดท้าย และทำหนังสือขอพระราชทานอภัยโทษ เผ่าได้ดำเนินการประหารชีวิตจำเลยไปโดยปกปิดข่าว และด้วยการกักหนังสือฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษไว้ ไม่นำขึั้นทูลเกล้าฯถวาย ในหลวงไม่ทรงทราบข่าวการประหารชีวิตนั้นเลย จนกระทั่งเหตุการณ์ผ่านไปแล้ว และมีข่าวลือไปถึงพระองค์ (He had been told nothing about the executions. - The Revolutionary King หน้า 119) สตีเวนสันอ้างว่า ในหลวงทรงกริ้วอย่างยิ่ง (rage) . . .

ในหลวง ทรงรีบกลับจากวังไกลกังวลเมื่อข่าวลือเรื่องการประหารชีวิตไปถึงพระองค์. พระองค์ได้ทรงปล่อยให้เวลาผ่านไปโดยไม่ทรงเข้าแทรกแซงกับกระบวนการยุติธรรม, เพราะคิดว่าทรงได้รับหลักประกัน [จากรัฐบาล] เรื่องความเป็นอิสระและเข้มแข็งของศาลแล้ว. ในความกริ้วอย่างเงียบๆของพระองค์, พระองค์ได้ตระหนักว่าพระองค์ทรงอยู่ในฐานะไร้ซึ่งอำนาจเพียงใด. พระองค์ได้ทรงยืนยันไปก่อนหน้านั้นว่า ราษฎรทุกคนมีสิทธิที่จะถวายฎีกาขออภัยโทษถึงพระองค์โดยตรง. บัดนี้ ทรงพบว่าความพยายามที่จะถวายฎีกาถึงพระองค์ของครอบครัวแพะรับบาปทั้งสามถูก หยุดยั้่งโดยบรรดาข้าราชสำนักที่ถูกตำรวจของเผ่าดึงตัวไปเป็นพวก . . . บนโต๊ะทำงานของเผ่า หนังสือฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของผู้ถูกประหารชีวิตทั้งสามถูกวางทิ้วไว้

[The King hurried back for Far-From-Worry when the rumours reached him. He had let the months passed without interfering with the due process of law, thinking he had won his demand for a strong and independent judiciary. In his silent rage, he saw how powerless he really was. He had insisted that every citizen had the right to petition him directly. Now he discovered that attempts to reach him by the scapegoats’ families had been stopped by courtiers subverted by Phao’s police. . . . . On Phao’s desk remained the last written appeals from the dead men for a king’s pardon.]


(ข้อความภาษาอังกฤษข้างต้นนี้ ผมได้อ้างไว้ในบทความ โดยไม่แปลอย่างจงใจ เพิ่งมาแปลในครั้งนี้)

ใน บทความของผม ผมได้ยกข้อมูลชั้นต้นร่วมสมัยจำนวนมาก ทั้งรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีและรายงานข่าวหนังสือพิมพ์ มาแสดงให้เห็นว่า ในความเป็นจริงฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของจำเลยทั้งสามได้รับการส่งผ่านจาก คณะรัฐมนตรีไปถึงราชเลขาธิการและราชเลขาธิการได้นำขึ้นทูลเกล้าถวายตาม กระบวนการ และต่อมา "ราชเลขาธิการแจ้ง [คณะรัฐมนตรี] มาว่า ความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว โปรดเกล้าฯให้ยกฎีกานี้" (คือไม่ทรงโปรดเกล้าฯให้อภัยโทษ) ในระหว่างที่ฎีกา ส่งถึงราชสำนักแล้ว แต่ยังไม่ทราบผล หนังสือพิมพ์สมัยนั้น รวมทั้ง สยามรัฐ ก็ ได้รายงานข่าวอย่างแพร่หลาย มีหนังสือพิมพ์บางฉบับได้ไปสัมภาษณ์ ม.จ.นิกรเทวัญ เทวกุล ราชเลขาธิการ ด้วย ซึ่ง ม.จ.นิกรเทวัญ ทรงรับสั่งยืนยันว่า "ฎีกาของจำเลยทั้งสามคนนี้ได้นำขึ้นทูลเกล้าฯถวายมาหลายวันแล้ว" ผมยังได้ชี้ให้เห็นว่า ไม่มีทางเป็นไปได้ ที ม.จ.นิกรเทวัญ จะร่วมมือกับเผ่า กักหนังสือฎีกาไว้ไม่ทูลเกล้าถวาย เพราะ ม.จ.นิกรเทวัญ เป็นผู้ที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัย โปรดเกล้าฯให้เป็นราชเลขาธิการด้วยพระองค์เองให้อยู่ในตำแหน่งราชเลขาธิการ ตั้งแต่ปี 2493 จนถึงปี 2505 ซึ่งรวมเวลาที่ทรงโปรดเกล้าฯต่ออายุราชการให้ถึง 5 ครั้งจนครบตามระเบียบที่ต่ออายุราชการได้

ส่วนสาเหตุที่ทรง "โปรดเกล้าฯให้ยกฎีกา" ของ 3 จำเลยคืออะไร ผมไม่สามารถบอกได้แน่ชัด เพราะไม่มีหลักฐานยืนยัน

*******

กรุณาอ่านประกอบกับกระทู้นี้ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=155497804503507&set=a.137616112958343.44289.100001298657012&theater


เย็น วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2498 เจ้าหน้าที่เรือนจำบางขวางได้ไปติดต่อกับภิกษุเนตร ปัญญาดีโพธิ์ เจ้าอาวาสวัดบางขวางที่อยู่ใกล้ๆกันว่าคืนนั้นขอนิมนต์ไปเทศน์ให้นักโทษที่ จะถูกประหารชีวิตฟัง เวลาเดียวกันที่เรือนจำ ผู้บัญชาการ (ขุนนิยมบรรณสาร) เรียกประชุมพัศดี ผู้คุมและพนักงานเรือนจำทั้งหมด สั่งให้เตรียมพร้อมประจำหน้าที่ . . .

นักโทษ 3 คน ถูกนำตัวออกจากห้องขังมาทำการตีตรวนข้อเท้าตามระเบียบ ทั้ง 3 คน รู้ตัวทันทีว่ากำลังจะถูกประหารชีวิต . . .

นัก โทษคนหนึ่งมีอาการปรกติ ขณะที่อีก 2 คนแสดงความตื่นตระหนก จนนักโทษคนแรกต้องหันไปดุว่า “กลัวอะไร เกิดมาตายหนเดียวเท่านั้น” นักโทษคนแรกยังพูดหยอกล้อกับผู้ตีตรวนได้

หลังตีตรวนเสร็จ ทั้งสามถูกนำไปพิมพ์ลายนิ้วมือและตรวจโรคทำบันทึกสุขภาพ แล้วถูกพาไปที่ห้องขังชั่วคราว (ปรกติเป็นห้องเยี่ยมญาติ) ขณะนั้นเวลาประมาณ 6 โมงเย็น ที่นั่นนอกจากมีผู้คุมเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด เข้าประกบนักโทษคนต่อคนตลอดเวลาแล้ว ยังมีแพทย์คอยสังเกตและตรวจอาการเป็นระยะๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ป่วยเจ็บก่อนถูกประหาร มีเสื่อปูให้นอน แต่ไม่มีใครนอน ราว 19 นาฬิกา แพทย์ฉีดยาบำรุงหัวใจให้นักโทษคนแรก 1 เข็ม แต่เขายังสามารถพูดคุยกับผู้คุมได้ ขณะที่อีก 2 คน มีอาการ กอดอก ซึมเศร้า เวลา 22 นาฬิกา ผู้คุมเป็นพยานให้นักโทษทั้งสามเขียนพินัยกรรมหรือจดหมายฉบับสุดท้ายถึงญาติ . . . .


และกระทู้นี้ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=155570287829592&set=a.137616112958343.44289.100001298657012&theater

ธรณีนี่นี้เป็นพยาน. . เราบ่ผิดท่านมล้าง ดาบนี้คืนสนอง : 56 ปี การประหารชีวิตจำเลยคดีสวรรคต 17 กุมภาพันธ์ 2498 - 2554


. . . . ประมาณตี 2 หัวหน้ากองธุรการเรือนจำอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้นักโทษทั้งสามฟัง ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงเศษ นักโทษทั้งสามนั่งฟังโดยสงบเป็นปรกติ หลังจากนั้น ภิกษุเนตร (ซึ่งมาถึงตั้งแต่ตี 2) ได้เทศน์ให้นักโทษทั้งสามฟังใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง ระหว่างการเทศน์ นายเฉลียวมีอาการปรกติ ยังสามารถนำอาราธนาศีลได้ นายชิตนั่งสงบขณะที่นายบุศย์กระสับกระส่าย เมื่อเทศน์จบแล้ว ระหว่างที่ภิกษุเนตรกำลังจิบน้ำชาและพูดคุยกับนักโทษ นายบุศย์ซึ่งมีอาการโศกเศร้าที่สุดและหน้าตาหม่นหมองตลอดเวลา บอกกับภิกษุเนตรว่า “เรื่องของผมไม่เป็นความจริง ไม่ควรเลย” และพูดถึงแม่ที่ตายไปแล้วว่าเป็นห่วง ตายนานแล้วยังไม่ได้ทำศพ นายเฉลียวทำท่าจะสั่งเสียบางอย่างกับภิกษุเนตร “กระผมจะเรียนอะไรกับพระเดชพระคุณฝากไปสักอย่าง” แต่ยังไม่ทันได้พูดอะไร พอดีกับ เผ่า ศรียานนท์ พร้อมด้วยบริวารเกือบ 10 คน เดินทางมาถึงและเข้ามานั่งในห้องที่เก้าอี้ด้านหลังภิกษุเนตร เผ่าอยู่ในชุดสูทสากลหูกระต่าย สวมหมวกแบเร่ต์สีแดง นายเฉลียวเห็นเข้าก็เอ่ยขึ้นว่า “อ้อ คุณเผ่า” หลังจากนี้ภิกษุเนตรก็กลับวัด . . . .

หลังพระเทศน์ นักโทษถูกนำกลับห้อง ทางเรือนจำจัดอาหารมื้อสุดท้ายให้ แต่ไม่มีใครกิน . . . .

เวลา ประมาณ 4.20 น. นายเฉลียวถูกนำตัวเข้าสู่หลักประหารเป็นคนแรก โดยอยู่ในท่านั่งงอขา หันหลังให้ที่ตั้งปืนกลของเพชรฆาต ห่างจากปืนกลประมาณ 5 เมตร นักโทษถูกมัดเข้ากับหลักประหาร มือทั้งสองพนมถือดอกไม้ธูปเทียนไว้เหนือหัวมีผ้าขาวมัดไว้ และมีผ้าขาวผูกปิดตา ด้านหน้านักโทษเป็นกองดิน ด้านหลังเป็นฉากผ้าสีน้ำเงิน บังระหว่างนักโทษกับเพชรฆาต บนฉากผ้ามีวงกลมสีขาวเป็นเป้าสำหรับเพชรฆาต ซึ่งตรงกับบริเวณหัวใจของนักโทษ เมื่อได้เวลา เพชรฆาตประจำเรือนจำ นายเหรียญ เพิ่มกำลังเมือง ก็ยิงปืนกลรัวกระสุน 1 ชุด จำนวน 10 นัด เสร็จแล้วแพทย์เข้าไปตรวจดูนักโทษเพื่อยืนยันว่าเสียชีวิต

หลังการประหารนายเฉลียวประมาณ 20 นาที นายชิต ก็ถูกนำตัวมาประหารเป็นคนต่อไปในลักษณะเดียวกัน . . . .

หลัง จากนั้นไปอีก 20 นาที ก็ถึงคราวของนายบุศย์ เขามีโรคประจำตัวเป็นลมบ่อย และเป็นลมอีกก่อนถูกนำเข้าหลักประหารเล็กน้อย ต้องช่วยให้คืนสติก่อน . . .

เพชร ฆาตยิงนายบุศย์เสร็จ 1 ชุดแล้ว ตรวจพบว่านายบุศย์ยังมีลมหายใจ จึงยิงซ้ำอีก 2 ชุด โดยยิงรัว 1 ชุด แล้วตามด้วยการยิงทีละนัดจนหมดอีก 1 ชุด

ผลการยิงถึง 30 นัดนี้ทำให้เมื่อญาติทำศพ พบว่านายบุศย์เหลือเพียงร่างที่แหลกเหลว และมือขาดหายไป . . . .

16.2.54

ญาติคนเสื้อแดงทวงสัญญาประกัน104นักโทษการเมือง หลังครม.อนุมัติแล้วส่อแววเบี้ยวโดนขังลืม







ที่มา Asia Update TV และ ประชาไท

แม่บ้านอีสานบุกกรมคุ้มครองสิทธิฯ ร้อง 9 เดือนแล้ว ลูก-ผัวเสื้อแดงยังไม่ได้ประกันตัว

เวบไซต์ประชาไท รายงานว่า เมื่อวันที่15 ก.พ.54 ที่กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ตัวแทนกลุ่มเครือข่ายญาติผู้ต้องขังเสื้อแดงราว 50 คน พร้อมด้วยนางพะเยาว์ อัคฮาด แม่ของน.ส.กมนเกด อัคฮาด พยาบาลอาสาที่ถูกยิงเสียชีวิตในวัดปทุมวนาราม เข้ายื่นหนังสือและร้องเรียนกรณีที่ญาติพี่น้อง-สามี-ลูก ซึ่งเป็นคนเสื้อแดงยังถูกคุมขังอยู่ตามเรือนจำจังหวัดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมหาสารคาม อุบลราชธานี อุดรธานี มุกดาหาร มหาสารคาม ขอนแก่น เชียงใหม่ โดยไม่สามารถประกันตัวได้

ทั้งนี้ นายสมชาติ เอี่ยมอนุพงษ์ รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิได้ลงมารับหนังสือ ซึ่งในหนังสือร้องระบุว่า เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.53 ครม.มีมติยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน พร้อมทั้งเห็นชอบให้มีการช่วยเหลือประกันตัวให้แก่ผู้ต้องขังคดีชุมนุมทาง การเมือง 104 คน ตามที่คณะกรรมการที่มี นายคณิต ณ นคร เป็นประธานเสนอมา แต่ถึงปัจจุบันกว่า 9 เดือนแล้วแต่ญาติพี่น้องของพวกเขาก็อยู่ในเรือนจำ จึงขอเรียกร้องให้กรมคุ้มครองสิทธิฯ ประสานงานตามศาลจังหวัดต่างๆ เพื่อให้ญาติได้ประกันตัว พร้อมช่วยเหลือหลักทรัพย์ และขอให้เปิดเผยรายชื่อผู้ต้องหาที่ถูกขังในเรือนจำทั่วประเทศในคดีการเมือง ด้วย

จากนั้นได้มีการเชิญชาวบ้านทั้งหมดไปร่วมหารือร่วมกับรองอธิบดีและ นางนงกรณ์ รุ่งเพ็ชรวงศ์ ผอ.กองพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพ

นาง นงกรณ์ ชี้แจงว่า ได้ลงไปสำรวจในเรือนจำทั่วประเทศ พบว่า ณ เดือนตุลาคม 2553 ยังมีผู้ต้องขังเสื้อแดง 180 คน มี 151 คนที่ขอความช่วยเหลือ บางส่วนขอทนายความซึ่งคณะกรรมการสิทธิฯ จะเป็นผู้จัดหาให้ อีก 48 รายขอความช่วยเหลือเรื่องเงินประกันตัว ซึ่งกองทุนยุติธรรมอนุมัติให้ทั้งหมด ขณะนี้อยู่ระหว่างนำเงิน 28 ล้านไปให้ยุติธรรมจังหวัดเพื่อนำไปเป็นหลักทรัพย์ประกันตัวที่ศาล แต่การให้หรือไม่ให้ประกันเป็นดุลยพินิจของศาล ไม่สามารถไปแทรกแซงได้ ซึ่งที่ผ่านมากรมได้ช่วยยื่นประกันตัวไปหลายรายแต่ส่วนใหญ่แล้วศาลไม่อนุญาต เพราะเกรงผู้ต้องขังจะหลบหนี

อย่างไรก็ตาม กรณีที่ชาวบ้านเข้าใจว่ามติครม.ให้ประกัน 104 รายตามที่นายคณิต ณ นคร เสนอนั้น อันที่จริงแล้วมติครม.ระบุให้ดีเอสไอและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ไปหาหลักเกณฑ์และแนวทางในการประกันตัวมา แต่ปัจจุบันยังไม่มีความคืบหน้า ทางกรมคุ้มครองสิทธิฯ จะทำหนังสือทวงถามให้


ด้านญาติของผู้ต้องขังระบุว่า ขณะนี้เรือนจำจังหวัดอุดรธานี ยังมีผู้ต้องขังประกันตัวไม่ได้ 27 คน อุบลราชธานี 21 คน มุกดาหาร 12 คน มหาสารคาม 9 คน ขอนแก่น 4 คน เชียงใหม่ 4 คน ซึ่งเกือบทั้งหมดยื่นประกันตัวหลายครั้งแต่ไม่ได้รับอนุญาต ส่วนการลงไปช่วยเหลือของกรมคุ้มครองสิทธิฯ นั้น หลายครั้งไปโดยไม่ประสานงานกับญาติและทนาย ไม่ทราบข้อมูล ทำให้การยื่นประกันได้รับการปฏิเสธ

นางศิรินารถ จันทะคัต ตัวแทนญาติจากจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า อยากให้รัฐบาลแสดงความจริงใจด้วยการช่วยเหลือผู้ต้องขังอย่างที่พูด โดยยกตัวอย่างความยากลำบากของครอบครัวจันปัญญา หลังจากนายสุชล จันปัญญา นักศึกษาเทคนิคชั้น ปวส.1 ถูกคุมขัง ทำให้พ่อที่เป็นอัมพาตและมารดาที่อายุมากอยู่อย่างยากลำบาก เพราะปกตินายสุชลจะเป็นเสาหลักหาเลี้ยงครอบครัวและทำงานเป็นลูกจ้างร้านถ่าย เอกสารส่งเสียตัวเองเรียน ในวันเกิดเหตุนายสุชลเข้าไปยืนดู ตำรวจใช้ภาพถ่ายที่เป็นเพียงการยืนมุงเป็นหลักฐาน โดยที่ขวดน้ำมันที่กล่าวอ้างว่าเป็นของนายสุชลก็ไม่มีการพิสูจน์ลายนิ้วมือ

ส่วน นางวาสนา ลิลา จากจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวทั้งน้ำตานองหน้าว่า สามีถูกคุมขังมานานหลายเดือนจะมีอาการเครียด เกรงว่าจะคิดสั้นในเรือนจำ สามีโดนข้อหาร่วมกันวางเพลิง ทั้งที่ในวันเกิดเหตุเขาไปซื้ออะไหล่รถและแวะมาดูลูกคนเล็กที่ป่วยอยู่ที่ โรงพยาบาล เมื่อผ่านจุดเกิดเหตุจึงแวะดู ต่อมาตำรวจนำภาพถ่ายมาให้เซ็นชื่อโดยบอกว่าหากลงชื่อวันรุ่งขึ้นก็สามารถ ประกันตัวได้ แต่ท้ายที่สุดก็ถูกคุมขังมาจนปัจจุบันไม่สามารถประกันตัวได้ ทำให้ตนลำบากมากเพราะต้องเลี้ยงดูลูกเล็ก 2 คนเพียงลำพัง

ยื่นขอประกันตัวไปหลายครั้ง ไม่ได้รับการประกัน ถูกคุมขังกว่า9เดือน อยู่ที่ดุลยพินิจของศาล ผู้คนที่มีอำนาจกดปุ่มสั่งได้ มันไม่ยอม!

 


โดยอินไซด์ ไทยแลนด์ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2011 เวลา 18:27 น.
 
 
เวลา 10.00 น. วันเดียวกัน ที่กระทรวงยุติธรรม นางพะเยาว์ อัคฮาด มารดาน.ส.กมนเกด อัคฮาด หรือ "น้องเกด" พยาบาลอาสาที่ถูกยิงเสียชีวิตในเขตอภัยทาน วัดปทุมวนาราม พร้อมอาสากู้ภัยและประชาชนรวม 6 ศพ เมื่อวันสลายม็อบแดงราชประสงค์ 19 พ.ค. 2553 ได้พาญาติของผู้ต้องขังเสื้อแดงประมาณ 50 ราย เดินทางมายื่นจดหมายเปิดผนึกถึงนางสุวณา สุวรรณจูฑะ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เพื่อขอให้ช่วยประสานงานเรื่องการประกันตัว รวมถึงจัดการเรื่องหลักทรัพย์ค้ำประกันให้กับผู้ต้องขังเสื้อแดงที่ยังถูก คุมขังอยู่ในเรือนจำต่างๆ อาทิ เรือนจำกลางจังหวัดมุกดาหาร มหาสารคาม อุดร ธานี อุบลราชธานี ขอนแก่น สมุทรปราการ และเชียงใหม่ หลังจากถูกคุมขังมานานกว่า 9 เดือน แต่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือใดๆ

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างคณะของนาง พะเยาว์รอยื่นจดหมายให้นางสุวณานั้น ญาติคนเสื้อแดงนำป้ายเขียนข้อความต่างๆ มาถือยืนประท้วงอยู่หน้าทางเข้ากระทรวงยุติธรรม อาทิ "104 คน รัฐว่าไง ทำไมขังลืม" และ "คำพูด คณิต-อมรา ไม่มีค่าในสายตาศาล" พร้อมกับแต่งกายเลียนแบบนักโทษอุกฉกรรจ์ สวมเสื้อสีฟ้า ขาทั้งสองข้างตีตรวน และมีคนถือปืนยืน คุมอยู่ด้านหลัง โดยมีกำลังตำรวจสภ.ปากเกร็ด เดินทางมาดูแลความสงบเรียบร้อย

ต่อมาเวลา 11.30 น. นางนงภรณ์ รุ่งเพชรวงศ์ ผอ.กองพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิฯ ลงมารับจดหมายเปิดผนึก ซึ่งมีเนื้อหาขอให้กรมคุ้ม ครองสิทธิและเสรีภาพเข้าไปช่วยเหลือผู้ต้อง ขังเสื้อแดงที่ยังถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำต่างๆ โดยกลุ่มเครือญาติผู้ต้องขังเสื้อแดงยอมรับว่าญาติ ของตนเข้าร่วมการชุมนุมจริง แต่ไม่ได้กระทำ ผิดในข้อหารุนแรงตามที่ถูกตั้งข้อกล่าวหาทั้ง คดีก่อการร้าย วางเพลิงเผาทรัพย์ บุกรุกและมีอาวุธปืน

เนื้อหาในจดหมายดัง กล่าวระบุด้วยว่า ก่อนหน้านี้รัฐบาลประกาศรายชื่อผู้ต้องขังที่กระทำผิดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ 104 คน ซึ่งไม่ใช่ตัวการสำคัญว่าจะได้รับการประกันตัว อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ญาติของผู้ต้องขังที่มีรายชื่ออยู่ใน 104 คนยังประกันตัวผู้ต้องขังออกมาไม่ได้ ดังนั้น จึงต้องการให้กรมคุ้มครองสิทธิฯ ประสานงานกับศาลในจังหวัดต่างๆ เพื่อขอให้ได้รับ การประกันตัวตามที่รัฐบาลประกาศ รวมถึงให้เป็นไปตามข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อ ความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่มีนายคณิต ณ นคร เป็นประธาน นอกจากนั้น ยังขอให้กรมคุ้มครองสิทธิฯ เปิดเผยรายชื่อผู้ต้องขังเสื้อแดงทั่วประเทศอีกด้วย

ด้านนาง นงภรณ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมากรมคุ้มครองสิทธิฯ ทยอยให้ความช่วยเหลือผู้ต้องขังเสื้อแดงไปหลายรายภายหลังลงพื้นที่ไปสำรวจ ผู้ต้องขังเสื้อแดงทั่วประเทศ ที่ผ่านมายืนยันว่าได้เข้าไปสอบถามความเป็นอยู่และความต้องการให้ช่วยเหลือ ในเรื่องต่างๆ กับผู้ต้องขังเสื้อแดงทั่วประเทศใน 14 เรือนจำ จำนวน 180 คน โดยมีผู้ต้องขังเสื้อแดงที่ขอรับความช่วยเหลือเพียง 151 ราย และกรมคุ้มครองสิทธิฯ ช่วยเหลือเกือบทั้งหมดแล้ว เช่น การจัดหาทนาย ความและขอรับเงินช่วยเหลือในการประกันตัว ส่วนกรณี 104 คนที่รัฐบาลประกาศรายชื่อไปก่อนหน้านี้ ซึ่งหลายรายชื่อใน 104 คนที่กลุ่มเครือญาติผู้ต้องขังเสื้อแดงอ้างว่า มีชื่ออยู่ในกลุ่มต้องให้ความช่วย เหลือแต่ยังไม่ได้รับการประกันตัวแม้จะได้ยื่นขอประกันไปแล้วหลายครั้ง เรื่องดังกล่าวถือเป็นดุลพินิจของศาล กรมคุ้มครองสิทธิฯ ไม่สามารถเข้าไปก้าวก่ายอำนาจการพิจารณาได้ ดังนั้นสิ่งสำคัญในการยื่นเสนอขอประกันตัว จึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับหลักทรัพย์ค้ำประกันเพียงอย่างเดียว

เสื้อแดงยุโรปรวมพลปารีสสอดประสานแดงไทย เพรียกหายุติธรรม ประชาธิปไตย ใฝ่หาสันติภาพ




เรา จะอยู่เคียงข้างร่วมต่อสู้ด้วยสิทธิศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เพื่อเรียกร้อง ความเป็นธรรมและปกป้องผลประโยชน์ประชาชนไทยทุกคนที่ได้ตายไปแล้ว ยังหายใจอยู่ และยังไม่ได้เกิด


โดย Rojana Treiling

ข่าวและภาพกิจกรรมจากกรุงปารีส เมื่อวันเสาร์ที่13 เดือนกุมภาพันธ์ คศ 2011

เพื่อ ให้สอดรับกับการที่พี่น้องเสื้อแดงในเมืองไทยจัดการชุมนุมใหญ่เรียกร้องความ ยุติธรรม ปลดปล่อยนักโทษการเมือง ต่อต้านรัฐประหาร คัดค้านสงครามไทย-กัมพูชา ทางเสื้อแดงยุโรปก้ได้จัดการชุมนุมขึ้นในวันเดียวกันที่ปารีส

ประธาน เสื้อแดงสหภาพยุโรป คุณมนูญ มิ่งชัย พร้อมด้วยรองประธาน คุณขวัญใจ เนตรแสงศรี และคณะกรรมการ กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งสหภาพยุโรป หรือ นปช.เสื้อแดงไทยในอียู ได้จัดงานกิจกรรมชุมนุมพร้อม นปช.เสื้อแดงในประเทศไทย เรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษการเมือง และร่วมกดดันรัฐบาล เรียกร้องยุติการใช้อาวุธกรณีการสู้รบกับเขมร มีผู้สนใจและสมาชิกมาร่วมชุมนุม 30 คน

นี่เป็นจิตใจรักชาติรักประชาธิปไตย รักความยุติธรรม และเป็นจิตใจสากลที่ปรารถนาสันติภาพอันแท้จริง

The United Front for Democracy Against Dictatorship Thai of Europe (UDD Thai of Eu)นปช.แห่งสหภาพยุโรป คือ องค์กรประชาชน เราสู้ด้วยความจริง อย่างที่เห็น อย่างที่ได้เป็น เราไม่มีความจำเป็นใดต้องใส่ร้าย หรือ ลับ ลวง คราง ไม่ต้องอ้างอิงอำนาจใด รัฐบาลที่เข่นฆ่าประชาชนอย่างสิ้นไร้มนุษยธรรม

เราปฏิเสธรัฐบาล เผด็จการอภิสิทธิ์ ด้วย อำนาจของประชาชนบริสุทธิ์ UDD Thai of EU เกิดจากประชาชนไทยนอกประเทศ โดยประชาชนไทยนอกประเทศในสหภาพยุโรป เราจะอยู่เคียงข้างร่วมต่อสู้ด้วยสิทธิศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เพื่อเรียก ร้องความเป็นธรรมและปกป้องผลประโยชน์ประชาชนไทยทุกคนที่ได้ตายไปแล้ว ยังหายใจอยู่ และยังไม่ได้เกิดทุกคนทั้งใน และนอกประเทศ จากเผด็จการอภิสิทธิ์ชนทุกรูปแบบ

จนกว่าจะได้ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง